internet.....origin

internet...start

ย้อนกลับไปในปี 1969 ขณะที่โลกยังอยู่ในยุคสงครามเย็น สหรัฐและรัสเซียต่าง พยายามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ให้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม ความหวดกลัวสงคราม นิวเคลียร์มีผลให้กระทรวง กลาโหมแห่งประเทศสหรัฐอเมริการิเริ่ม การสร้าง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางทหารและมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถจะสื่อสารกัน ได้แม้บางส่วนจะถูกทำลายโดยอาวุธนิวเคลียร์ จึงได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อวิจัย งานโครงข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในกองทัพชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ARPA เครือข่ายในขณะนั้นจึงมีชื่อว่า ARPANET

ต่อมา ARPA ก็ต้องพบกับปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาของการสร้าง เครือข่าย คือคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากันได้ เนื่องจากไม่ได้ ถูกสร้างโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ARPA จึงได้แก้ปัญหา โดยการสร้าง โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Transfer Protocol/Internet Protocol) เพื่อเป็นมาตรฐานในการติดต่อ และนำมาใช้สร้างเครือข่าย internetwork เพื่อแก้ปัญหาในการเชื่อมต่อระบบ และระบบนี้เองที่ต่อมาถูก เรียกสั้นๆ ว่า Internet (อินเตอร์เน็ต) และ โพรโตคอล TCP/IP ก็คือโพรโตคอลของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั่นเอง


ประวัติอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเรียกกันว่า เนคเทค (NECTEC)

แรกเริ่มเดิมทีเป็นการใช้งานเฉพาะ E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ต่อมาเป็นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรเลีย แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการเชื่อมต่อกันอย่างโดยตรง (Online) ในปีต่อมาก็ได้เชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้นมาอีก 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง และกระทรวงวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นอีกไม่นานก็ได้เชื่อมต่อกับสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ ซึ่งก็มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://61.19.69.9/~m312b48/m312-(17b)/INTERNET.htm


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always o­n) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีกต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://learners.in.th/blog/toulek-2416/270674

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น