แนะนำตัวเอง



แนะนำตัวเอง

ชื่อ นางสาวปะการัง เดชภูมี

ชื่อเล่น ลูกเกด

เกิดวันที่ 9 เมษายน 2532

อายุ 20 ปี

เป็นลูกคนที่ 1 จำนวน 1 คน

พ่อทำงานกรมที่ดิน แม่ประกอบธุรกิจส่วนตัว

มีสัตว์เลี้ยง คือ สุนัข 2 ตัว ปลาโกเมท 5 ตัว ปลาทอง10 ตัว ปลารักเล่ห์ 2 ตัว ปลาเทวดา 1 ตัว ปลาบอลลูน 30 ตัว ปลาหมอฟ้าลาย 4 ตัว นกเขาอีก 8 ตัว

ชั้น ประถม 1-6 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี
ชั้น มัธยม 1-6 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จ.อุดรธานี
ชั้น อุดมศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ เอกโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร จ.มหาสารคาม

รูปแบบประเภทของเว็บไซต์ E-Commerce

รูปแบบประเภทของเว็บไซต์ E-Commerce

1. การประกาศซื้อ-ขาย (E-Classified)

เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจประกาศความต้องการ ซื้อ-ขาย สินค้าของตนได้ภายในเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่เหมือนกระดานข่าวและตัวกลางในการแสดงข้อมูลสินค้าต่างๆ และหากมีคนสนใจสินค้าที่ประกาศไว้ ก็สามารถติดต่อตรงไปยังผู้ประกาศได้ทันทีจากข้อมูลที่ประกาศอยู่ภายในเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของประเภทสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปเลือกซื้อ-ขายสินค้าในเว็บไซต์ เช่น www.ThaiSecondhand.com การซื้อขายรูปแบบนี้ ผู้ขายไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย แค่อาศัยพื้นที่ของเว็บที่เปิดโอกาสให้ประกาศขายของ ก็สามารถเริ่มต้นการค้าขายได้แล้ว ข้อดีเริ่มต้นได้ง่ายทันที ฟรี ข้อเสียคือไม่เหมาะกับผู้ที่มีสินค้าเป็นจำนวนมากๆ

2. เว็บไซต์แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (Online Catalog Web Site)

เป็นรูปแบบจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce ในรูปแบบแคตตาล็อกออนไลน์ ที่มีรูปภาพและรายละเอียด สินค้าพร้อมที่อยู่เบอร์โทรติดต่อ ไม่มีระบบการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์ หรือระบบช้อปปิ้งการ์ด (ตะกร้าสินค้าออนไลน์) โดยหากผู้สนใจสินค้าก็เพียงโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ ซึ่งเป็นการใช้เว็บไซต์เป็นเหมือนโบรชัวร์หรือแคตตาล็อกออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกดูรายละเอียดสินค้าและราคาได้ จากทั่วประเทศหรือทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ ข้อดีของเว็บแบบนี้คือ สร้างได้ง่ายเหมาะกับการค้าในพื้นที่หรือประเทศเดียวกัน ข้อเสียคือ ไม่สามารถขายและรับเงินได้ทันทีจากลูกค้า ที่ต้องการชำระเงินผ่านเว็บไซต์

ซึ่งโดยส่วนใหญ่กว่า 70% ของเว็บไซต์ E-Commerce ในประเทศไทยจะเป็นเว็บไซต์ในลักษณะนี้ เพราะด้วย รูปแบบเว็บไซต์สามารถจัดทำได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ทำให้สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย เช่น www.PlatinumPDA.com
3. ร้านค้าออนไลน์ (E-Shop Web Site)

เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce สมบูรณ์แบบ ที่มีทั้งระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ระบบการชำระเงิน รวมถึงการขนส่งสินค้า ครบสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยการชำระเงินส่วนใหญ่สามารถชำระเงินผ่าน บัตรเครดิต เป็นส่วนมาก

ในการจัดทำเว็บไซต์ลักษณะนี้ จะต้องมีระบบหลายๆ อย่างประกอบอยู่ภายใน ทำให้มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดในการจัดทำค่อนข้างมาก แต่ตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ E-Commerce สำเร็จรูป ที่พร้อมใช้บริการและมีทุกอย่างพร้อมสรรพ ทำให้สามารถเริ่มต้นทำเว็บลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว หากท่านสนใจ ร้านค้าออนไลน์ สามารถสมัครใช้บริการฟรี ได้ที่ www.TARADquickwe.com


4.การประมูลสินค้า (Auction)

เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีรูปแบบของการนำสินค้าของไปประมูลขายกัน โดยจะเป็นการแข่งขันใน การเสนอราคาสินค้า หากผู้ใดเสนอราคาสินค้าได้สูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด ก็จะชนะการประมูลและสามารถซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปได้ ด้วยราคาที่ได้กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาประมูล หากเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งหลังการประมูลสินค้าจะมีราคาที่ไม่สูงกว่าราคาท้องตลาด ยกเว้นสินค้าเก่า บางประเภท หากยิ่งเก่ามากยิ่งมีราคาสูง เช่น ของเก่า ของสะสม เป็นต้น เช่น http://auction.tarad.com, www.ebay.com


5.ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)

เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีรูปแบบเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ โดยภายในเว็บไซต์จะมีการรวบรวมเว็บไซต์ของร้านค้าและบริษัทต่างๆ มากมาย โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไป ดูสินค้าภายในร้านค้าต่างๆ ภายในตลาดได้อย่างง่ายดายและสะดวก โดยรูปแบบของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บางแห่งมีการแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ตามลักษณะของสินค้าที่มีอยู่ภายในตลาดแห่งนั้น เช่น ตลาดสินค้าทั่วไป www.TARAD.com เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับอาหาร www.FoodMarketExchange.com เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของสินค้า OTOP อย่าง www.thaitambon.com เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก http://www.pawoot.com/node/327

วิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce


วิธีการเริ่มต้นทำ E-Commerce


ในการเริ่มต้นทำ E-Commerce ขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ไปยังคนทั่วโลกมีหลายรูปแบบ ท่านสามารถเริ่มต้นได้ด้วยงบลงทุนหลายๆ ขนาด ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยไม่ถึงพันบาท จนไปถึง เป็นหลักแสนบาทได้ หรือ จะเริ่มต้นแบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยซักบาท ก็สามารถทำได้ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตและรูปแบบของ E-Commerce ที่คุณต้องการจะทำ ว่ามีรายละเอียดและการตอบสนองต่อธุรกิจคุณได้มากน้อยแค่ไหน โดยรูปแบบของอีคอมเมิร์ซที่สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ มีหลายรูปแบบได้แก่


1. การทำ E-Commerce โดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง
สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ หรือมีสินค้าจำนวนไม่มากและไม่กี่ประเภท คุณสามารถค้าขายในโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย เพราะคุณสามารถนำข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณไปลงประกาศไว้ตามเว็บไซต์ที่ให้บริการ ประกาศซื้อ-ขายสินค้าได้ฟรีๆ (E-Classified) หรือตลาดกลางสินค้า (E-Marketplace) เช่น www.ThaiSecondhand.com โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องมีหน้าเว็บไซต์เลย เพราะหลังจากคุณลงประกาศข้อมูลลงไปแล้ว คุณก็จะมีหน้าแสดงข้อมูลสินค้าคุณง่ายๆ ของคุณเอง และข้อมูลประกาศสินค้าชิ้นนั้นก็จะแสดงอยู่ใน เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาเป็นจำนวนมากหลายแสนคน ทำให้คุณมีโอกาสขายสินค้าออกไปยังกลุ่มคนเหล่านี้ได้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยซักบาท

ลักษณะนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้เพิ่งเริ่มต้นและอยากทดลองการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต E-Commerce

- ผู้ที่มีสินค้าที่ไม่มากและไม่กี่ประเภท

- ผู้ที่มีเว็บไซต์อยู่แล้วและต้องการทำโฆษณาขายสินค้าของตนให้คนอื่นๆ รู้จักมากขึ้น


ข้อดี ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ฟรี.! ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นทำ

- สะดวก ทำได้ด้วยตัวเองได้ทันที.!

- เข้าถึงคนนับล้านคนได้ทันที เพราะส่วนใหญ่เว็บลักษณะนี้จะมีคนเข้ามาใช้บริการมากอย่แล้ว

- ถ้าขยันประกาศ ทุกวัน หรือไปซื้อโฆษณาประกาศค้างเอาไว้เลย ยิ่งมีโอกาสการขายมากขึ้น

ข้อเสีย ของการทำอีคอมเมิร์ซโดยที่ไม่ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- เว็บไซต์ลักษณะนี้จะใส่ข้อมูลสินค้าได้ไม่มากจำกัด และใส่ได้ทีละรายการ

- ต้องเข้ามาลงประกาศอยู่เสมอ เพราะหน้าเว็บไซต์ลักษณะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา (ทำให้ประกาศสินค้าของคุณหล่นไปอยู่ด้านล่างๆ หรือหายไป ดังนั้นต้องเข้ามาลงประกาศบ่อย ๆเพื่อให้คนเห็นสินค้าของคุณ)

- ไม่มีชื่อเว็บเป็นของตนเอง ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกภายหลังได้ยาก ซึ่งหากมี โดเมนเป็นของตนเองจะสะดวกกว่า


2. การมีเว็บไซต์ E-Commerce เป็นของตัวเอง
สำหรับท่านที่มีสินค้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายประเภท คุณอาจจะต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่มีมากมายหลากหลายประเภท อยู่ในเว็บไซต์คุณ เพราะข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้อยู่ในเว็บไซต์คุณทั้งหมด เพื่อสะดวกต่อลูกค้าในการเข้ามาค้นหาสินค้าหรือซื้อสินค้าของคุณ

ข้อดีของการมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง

- มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง มีชื่อ URL หรือ Domain เป็นของตนเอง ทำให้จดจำได้ง่าย

- ใส่ข้อมูลสินค้าได้มาก ลงลึกในรายละเอียดสินค้าแต่ละรายการ

- สามารถเพิ่มระบบชำระเงินที่สามารถ ชำระเงินผ่านเว็บได้ทันที ผ่านบัตรเครดิตหรือธนาคารโดยตรง

- ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในสิ่งที่คุณต้องการได้ไม่จำกัด

ข้อเสียของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

- ต้องมีการจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาก สำหรับของคุณโดยเฉพาะ

- ต้องคอยมานั่งดูแล บริหาร จัดการ เว็บไซต์ โดยอาจจะต้องจ้างหรือจัดทำเอง

- บางแห่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดทำ

- บางครั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของเรา (ซึ่งใช้เวลา-ค่าใช้จ่าย)

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก http://www.pawoot.com/node/117

คุณครูของหนู



ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ




ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้


การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์



กลอนวันครู

ใครคือครูครูคือใครในวันนี้
ใช่อยู่ที่ปริญญญามหาศาล
ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์
ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน

ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด
ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน

ครูคือผู้ยกระดับวิญญานมนุษย์
ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง

ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง

อันคุณครูคำนี้มีความหมาย อันหลากหลายคำพูดจะกล่าวถึง
คือผู้ให้ทรัพย์วิชาน่าคำนึง คือผู้ซึ้งอบรมให้ทำดี
อีกครูนี้เหมือนพ่อแม่คนที่สอง ครูจึงต้องอดทนต่อหน้าที่
เพียรสั่งสอนเป็นแม่พิมพ์ศิษย์มากมี เรือจ้างนี้น้ำใจงามนามว่าครู

คำว่า " ครู "เปรียบไว้ได้หลายอย่าง
เปรียบ"เรือจ้าง"รับส่งผู้โดยสาร
ให้พ้นห้วงมหาชลาธาร
ได้ข้ามผ่านถึงฝั่งสมตั้งใจ

เปรียบ"แม่พิมพ์"กล่อมเกลาเฝ้าหล่อหลอม
ทั้งโอบอ้อมการุณย์หนุนนำให้
ปลูกฝังซึ่งคุณธรรมผ่องอำไพ
ให้ก้าวไปตามครรลองของชีวา

เปรียบ"แสงเทียน"ส่องสว่างทางมืดมิด
เพื่อให้ศิษย์แจ่มกระจ่างทางศึกษา
จากไม่รู้ทั้งเขลาเบาปัญญา
กลับเก่งกล้าเลิศล้ำเพราะพร่ำเรียน

คือ"ปูชนียบุคคล"เปี่ยมล้นค่า
ควรบูชาเคารพนบนอบเศียร
ทั้งกายใจจิตวิญญาณท่านเฝ้าเพียร
เพื่อนักเรียนเติบใหญ่นั้นได้ดี

ขอทดแทนบุญคุณที่หนุนเนื่อง
ชาติรุ่งเรืองเพราะคุณครูกู้ศักดิ์ศรี
พร้อมอุทิศใจกายหมายมอบพลี
เป็นคนดีที่น่ายลชนชื่นชม

ร่วมเชิดชูครูไทยด้วยใจมั่น
ที่สร้างสรรค์บ่มเพาะความเหมาะสม
ในวันครูที่สิบหกมกราคม
ขอกราบก้มไหว้ครูดีศรีแผ่นดิน

ขอขอบคุณที่มาของ กลอนวันครู จาก : jkrolling จาก dreampoem.com

Happy new year 2010

"สวัสดีปีใหม่ 2553" : "happy new year 2010"



สถานที่น่าเที่ยว.....ในประเทศ


สถานที่จัดงาน : บริเวณลานน้ำพุ ด้านนอกของคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร


ย่านราชประสงค์ @Central World


ขอพรช้างเอราวัณ


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่


ปาย แม่ฮ่องสอน


ภูชี้ฟ้า เชียงราย


ผาแต้ม อุบลราชธานี


มอหินขาว ชัยภูมิ


เขาใหญ่ นครราชสีมา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://travel.mthai.com/view/40550.travel

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน
นิทานพื้นบ้าน ที่พบในภาคอีสาน มีมากมายหลายร้อยเรื่อง ซึ่งเมื่อแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ จะได้ ๒ ประเภท (ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเอง) ดังนี้นิทานวรรณคดี เป็น นิทานขนาดค่อนข้างยาว ถึงยาว ซึ่งมีผู้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจารลงใบลาน โดยมาก มักแต่งเป็นคำกลอนอีสาน ซึ่งบางครั้งเมื่อนำมาเล่าใหม่ นิยมเรียบเรียงใหม่เป็นร้อยแก้ว เพื่อให้อ่านง่ายนิทานประเภทวรรณคดีนี้ มีวิธีถ่ายทอดสู่ชาวบ้าน ๓ วิธีใหญ่ ๆ คือ
พระภิกษุสามเณร นำมาเทศน์ในงานบุญออกพรรษา โดยแต่ละปีจะมีการกำหนดว่า ออกพรรษาปีนี้ จะเทศน์เรื่องอะไร ซึ่งแต่ละวัด จะมีหนังสือใบลานวรรณคดีนิทานเรื่องต่างๆ เก็บไว้ พอถึงงานบุญออกพรรษา ก็จะเตรียมหนังสือใบลานนิทานเรื่องนั้นๆ ไว้ สำหรับพระภิกษุสามเณร ทั้งวัดนั้น ทั้งวัดอื่นๆ เวียนสลับมาอ่าน(เทศน์) ให้พ่อออก แม่ออกฟัง จนหนังสือหมดผูก หรือนิทานจบ
นักปราชญ์ผู้สามารถในการแต่งกลอนลำ นำไปแต่งเป็นกลอนลำ แล้วให้หมอลำเป็นผู้ถ่ายทอด เล่าเรื่องราวนิทานนั้นๆ เช่นหมอลำพื้น (มีคนลำเพียงหนึ่งคน ทำหน้าที่เป็นตัวละครทั้งหมด ใช้เสียง ผ้า และเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง) หมอลำเรื่องต่อกลอน เป็นต้น
คนเฒ่าคนแก่ (ซึ่งได้ฟังลำ หรือได้ฟังเทศน์จากพระ หรือผู้ที่สึกจากพระ) นำมาเล่าให้คนอื่นๆ ฟัง ให้เด็กๆ ฟัง ในตอนเย็นหลังกินข้าว
นิทาน ประเภทวรรณคดีนี้ โดยมาก เป็นเรื่องราวทางจินตนาการ หรือเป็นเรื่องแต่ง แต่อาจมีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง เช่น ขูลูนางอั้ว ผาแดงนางไอ่ กำพร้าไก่แก้ว บักหูดสามเปา เป็นต้น
นิทานก้อม เป็น นิทานขนาดสั้น กะทัดรัด ซึ่งลักษณะพิเศษของนิทานก้อมคือ มีมุขตลก มุขขำขัน อยู่ในตอนท้ายเรื่อง ซึ่งเมื่อเล่าถึงจุดขำขัน หรือจุดปล่อยมุข นิทานก็จบเรื่อง หรือจบตอน นิทานก้อมนี้ ไม่ค่อยมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มักจะถ่ายทอดโดยวิธีเล่าสู่กันฟัง ซึ่งสถานการณ์ ที่อำนวยให้เล่านิทานก้อมก็คือ เมื่อมีการรวมกลุ่ม หรือชุมนุมกัน เช่น หลังกินข้าวตอนเย็น ลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น นิทาน ก้อม โดยมาก ต้นเค้าหรือที่มา มักจะมาจากเรื่องจริง ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ที่เป็นเรื่องแต่งหรือคิดขึ้นเอง ก็คงมีบ้างเช่นกัน ตัวอย่างนิทานที่เข้าข่ายเป็นนิทานก้อม เช่น พ่อเฒ่ากับลูกเขย หลวงพ่อกับเณรน้อย เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://variety.siam55.com/data/6/0030-1.html

ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน

ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม

สารกันได้เป็นอย่างดี
ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน


ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/language1.htm

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มอีสานเหนือ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า “เรือม หรือ เร็อม” เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรมของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน


การละเล่นพื้นเมืองภาคอีสาน
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาสการแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง

ตัวอย่างการแสดงและการละเล่นพื้นบ้านอีสาน




ขอบคุณข้อมูลดีดี จากhttp://www.youtube.com/watch?v=S9J5pMFnoG0 และ http://show-organize.com/index.php?type=content&c_id=4174&ct_id=79096

ศิลปะเครื่องแต่งกายภาคอีสาน

ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน

เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม

กลุ่มอีสานเหนือ

เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญบิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกัยในแถบอีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา


ผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองที่ใช้กรรมวิธีในการย้อมสีที่เรียกว่า การมัดย้อม (tie dye) เพื่อทำให้ผ้าที่ทอเกิดเป็นลวดลายสีสันต่างๆ เอกลักษณ์อันโดดเด่นก็อยู่ตรงที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ผูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งต่างๆ ของเส้นด้ายเมื่อถูกนำขึ้นกี่ในขณะที่ทอ ลวดลายสีสันอันวิจิตรจะได้มาจากความชำนาญของการผูกมัดและย้อมหลายครั้งในสีที่แตกต่าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
การทอผ้ามัดหมี่จะมีแม่ลายพื้นฐาน 7 ลาย คือ หมี่ขอ หมี่โคม หมี่บักจัน หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว หมี่ข้อและหมี่ใบไผ่ ซึ่งแม่ลายพื้นฐานเหล่านี้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น จากลายใบไม้ ดอกไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ เป็นต้น ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านเขวา จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น
ผ้าขิด หมายถึงผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดซ้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ต้องการ เว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอด การเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลายต่างๆ ทำนองเดียวกับการทำลวดลายของเครื่องจักสาน จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บนี้จึงเรียกว่า การเก็บขิด มากกว่าที่จะเรียก การทอขิด ผ้าขิดที่นิยมทอกันมีอยู่ 3 ชนิด ตามลักษณะประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก คือ
ผ้าตีนซิ่น เป็นผ้าขิดที่ทอเพื่อใช้ต่อชายด้านล่างของผ้าซิ่น เนื่องจากผ้าทอพื้นเมืองจะมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดผืนผ้า ดังนั้นเวลานุ่งผ้าซิ่นผ้าจะสั้นจึงต่อชายผ้าที่เป็นตีนซิ่นและหัวซิ่นเพื่อให้ยาวพอเหมาะ
ผ้าหัวซิ่น ก็เช่นเดียวกันเป็นผ้าขิดที่ใช้ต่อชายบนของผ้าซิ่น

ผ้าแพรวา มีลักษณะการทอเช่นเดียวกับผ้าจก แพรวา มีความหมายว่า ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่ทอเป็นผืนมีความยาวประมาณวาหนึ่งของผู้ทอ ซึ่งยาวประมาณ 1.5-2 เมตร
ผ้าแพรมน มีลักษณะเช่นเดียวกับแพรวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าและหญิงสาวผู้ไทนิยมใช้โพกผม

ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายน้ำไหลนี้ที่มีชื่อเสียงคือ ซิ่นน่าน (ของภาคเหนือ) มีลักษณะการทอลวดลายเป็นริ้วใหญ่ๆ สลับสีประมาณ 3 หรือ 4 สี แต่ละช่วงอาจคั่นลวดลายให้ดูงดงามยิ่งขึ้น ผ้าลายน้ำไหลของอีสานก็คงจะได้แบบอย่างมาจากทางเหนือ โดยทอเป็นลายขนานกับลำตัว และจะสลับด้วยลายขิดเป็นช่วงๆ
ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ลักษณะของผ้าโสร่งจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายมีลวดลายเป็นตาหมากรุกสลับเส้นเล็ก 1 คู่ และตาหมากรุกใหญ่สลับกัน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 2 เมตร เย็บต่อกันเป็นผืน

กลุ่มอีสานใต้

คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

ผ้ามัดหมี่ ในกลุ่มอีสานใต้ก็มีการทอเช่นเดียวกันนิยมใช้สีที่ทำเองจากธรรมชาติเพียงไม่กี่สี ทำให้สีของลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกลุ่มไทยลาว แต่ที่เห็นเด่นชัดในกลุ่มนี้คือการทอผ้าแบบอื่นๆ เพื่อการใช้สอยกันมากเช่น
ผ้าหางกระรอก จะมีสีเลื่อมงดงามด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควั่นทบกันทอแทรก
ผ้าปูม เป็นผ้าที่มีลักษณะการมัดหมี่ที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ต่างจากถิ่นอื่น
ผ้าเซียม (ลุยเซียม) ผ้าไหมที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
ผ้าขิด การทอผ้าขิดในกลุ่มอีสานใต้มีทั้งการทอด้วยผ้าฝ้ายและผ้าไหม แต่ส่วนมากมักจะใช้ต่อเป็นตีนซิ่นในหมู่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เพราะชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมใช้กัน ลักษระการต่อตีนซิ่นของกลุ่มนี้นิยมใช้เชิงต่อจากตัวซิ่นก่อน แล้วจึงใช้ตีนซิ่นต่อจากเชิงอีกทีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มไทยลาวอย่างเด่นชัด

ลักษณะผ้าพื้นเมืองอีสาน

ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสานทั้งสองกลุ่มนิยมใช้ลายขนานกับตัว ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัวและนุ่งยาวกรอมเท้า ในขณะที่ชาวไทยลาวนิยมนุ่งผ้าซิ่นสูงระดับเข่าแต่ไม่สั้นเหมือนผู้หญิงเวียงจันทร์และหลวงพระบาง การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอเก็บขิดเป็นลายโบคว่ำและโบหงายมีสีแดงเป็นพื้น ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ ซึ่งมักจะทอริมผ้าเป็นริ้วๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก

การใช้ผ้าสำหรับสตรีชาวอีสาน

ผ้าซิ่นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่งของชาวอีสานนั้นจะมีลักษณะการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

ผ้าซิ่นสำหรับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว จะใช้ผ้าสามชิ้นมาต่อกันโดยแบ่งเป็นผ้าหัวซิ่น ผ้าตัวซิ่น และผ้าตีนซิ่น ผ้าแต่ละชิ้นมีขนาดและลวดลายต่างกัน
ผ้าหัวซิ่น จะมีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวเท่ากับผ้าซิ่น มีลวดลายเฉพาะตัว คือ ทอเป็นลายขวางสลับเส้นไหมแทรกเล็กๆ สลับสีสวยงาม
ส่วนตัวซิ่น คือส่วนกลางของผ้าซิ่นมีความกว้างมากกว่าส่วนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเท่าฟืมที่ใช้ทอ ซึ่งนิยมทอเป็นลายมัดหมี่
ส่วนตีนซิ่น คือส่วนล่างของผ้าซิ่นจะมีความกว้างเพียง 10 ซม. และยาวเท่ากับความยาวของผ้าซิ่น เมื่อต่อเข้ากับตัวซิ่นแล้วลายจะเป็นตรงกันข้ามกับผ้าหัวซิ่น ความงามอยู่ที่การสลับสีส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากลวดลายของสัตว์ เช่น ลายงูทำเป็นลายปล้องสีเหลืองและดำ
ผ้าซิ่นสำหรับหญิงสาว จะเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่เหมือนกันแต่เป็นผืนเดียวกันตลอด ใช้วิธีการมัดหมี่เป็นดอกและลวดลายติดต่อแล้วทอเป็นผืนเดียวกันตลอด ในผืนซิ่นจะมีลายที่ริมขอบด้านล่างในลักษณะเชิงซิ่นลวดลายส่วนใหญ่ทั้งตัวซิ่นและเชิงนิยมใช้ลายรูปสัตว์ เช่น ไก่ฟ้า หงษ์ทอง



ชุดไทยเขิน

ผู้ไทกาฬสินธุ์

ผู้ไทสกลนคร

ผู้ไทเรณูนคร

ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก http://c.1asphost.com/jigko/entertain/dress_01.htm,http://show-organize.com/index.php?type=content&c_id=4174&ct_id=79096