สถานทีท่องเที่ยว ใน จังหวัดอุดรธานี

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาสังวาล ประสูติเมื่อ พ . ศ .2399 ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างประองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สำเร็จราชกาลมณฑลฝ่ายเหนือ (“ มลฑลอุดร ” ในสมัยต่อมา ) ระหว่าง ร . ศ . 112 ( พ . ศ . 2436) ทรงจัดว่างระบบการปกครองบ้านเมืองและรับราชกาลในหน้าทีสำคัญๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่ราชฏร อนุเสาวรีพระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวอุดรธานี จะมีพิธีบวงสรวงในวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี



วัดโพธิสมภรณ์
ตั้งอยู่ริมถนนโพศรี ต . หมากแข้ง อ . เมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยอำมาสย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ( โพธิ เนติโพธิ ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร โดยชักชวนราษฏรในหมู่บ้าน กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิตรถิตมหาสีมาราม โดยทรงประทานนามว่า “ วัดโพธิสมภรณ์ ” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีนุริยราชวรานุวัตร ผู้สร้างวัดนี้ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์บูรพาจารย์ ฝ่ายกัมมัฏฐานด้วย

ศาลหลักเมื่องอุดรธานี
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งศรีเมือง โดยถือเอาวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2502 เวลา 08.09 น . เป็นฤกษ์งามยามดีทำพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มาสถิต ณ เสาหลักเมือง ซึ้งทำด้วยไม้คูณ ใต้เสาหลักเมืองบรรจุแผ่นยันต์ แก้ว แหวน เงินทอง ต่างๆ มากมาย ต่อมาเมื่อวันนที่ 31 มกราคม 2538 ได้มีพิธีบวงสรวง ขออณุญาติก่อสร้างเสาหลักเมืององค์ใหม่ เป็นไม้มงคล ( ไม้คูณ ) จากอำเภอนายูง มาทำเป็นเสาหลักเมือง และตั้งอยู่ด้านหน้าของศาลหลักเมืองเดิม ซึ้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุราชกุมาร เสร็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดศาลหลักเมืองใหม่ของจังหวัด อุดรธานี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2542




สวนสาธารณหนองประจักษ์
อยู่ใจเขตเทศบาลนครอุดรธานี เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “ หนองนาเกลือ ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลียนชื่อเป็น “ หนองประจักษ์ ” เพื่อเป็นเกียรติประวัติ แก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ . ศ .2530 เทศบาลนครอุดรธานีได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชลพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้ทำการจัดทำเป็นส่วนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดและทำสะพานเชื่อม ระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันมีประชาชนเข้าไปพักผ่อน และออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก

พิพิธภัณท์เมื่องอุดรธานี
ตั้งอยู่ริมถนนโพศรี ในอาคารราชินูทิศ ตั้งขึ้นโดยการนำของ นายชัยพร รัตนนาคะ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดธานี พิพิธภัณฑ์ เมืองอุดรธานี จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของเมือง อุดรธานีในด้านต่างๆ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรรมชาติ วิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม รวมถึงพระประวัติ และพระเกียรติคุณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น . สอบถามลายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร . 042 2125 38

วัดมัชฌิมาวาส
ตั้งอยู่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านเรียกชื่อเดิมว่า “ วัดเดิม ” หรือ “ วัดเก่า ” เนืองจากในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นที่วัดร้าง โดนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า “ วัดมัชฌิมาวาส ” มีพระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานอยู่ ซึ้งชาวบ้านเรียกว่า “ หลวงพ่อนาค ” เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี

หมู่บ้านนาข่าและศูนย์หัตกรรมบ้านเม่น
อยุ่ในเขต อ . เมืองอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานีประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี - หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2 ) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้างโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิด ในราคมย่อมเยา
การเดินทาง มีรถประจำทางสายอุดรธานี - นาข่า ซึ้งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและตลาดรังษิณา


อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อการเกษตรการประมง และการจ่ายน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ประมาณ 20,000 ไร่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับนังชมวิวทิวทัศน์ ภายในอ่างเก็บน้ำมีพระตำหนักของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ้งพระองค์เคยเสร็จมาประทับเกือบทุกปี เปิดให้เข้าชมสำหรับผู้สนใจ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน
การเดินทาง ตามทางหลวงสายอุดรธานี – หนองบัวลำภู ถึงกิโลเมตรที่ 108 เลี้ยวเข้าไป ประมาณ 9 กิโลเมตร

วนอุธยานน้ำตกธารงาม
ตั้งอยู่ตำบลหนองแสง ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี มีพื้นที่ 78,125 ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ . ศ . 2527 สภาพป่าทั่วไปบริเวณน้ำตกเป็นป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้สำคัญๆ เช่น ตะแบก ประดู่แดง มะข้าโมง ชิงชัน กระบก ปริมาณน้ำในน้ำตกจะมีเพียงบางฤดูเท่านั้น จะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน
จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวรอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหินขนาดใหญ่ มีเนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงรายและซ้อนกันอยุ่ที่จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้

สถานที่พัก วรอุทธยานนำตกธานงาม ไม่มีบ้านพักสำหรับบริการนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรมหรือทัศนศึกษาจะต้องนำเต็นท์ไปเอง สอบถามลายละเอียด โทร .04222 1725

การเดินทางอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสง 6 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้ 3 เส้นทางได้แก่

เส้นทางแรก จากอุดรธานี – บ้านเหล่า - โคกลาด - หนองแสง ระยะทาง 35 กิโลเมตร
เส้นทางที่สองจากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง - บ้านตาด - หนองแสง ระยะทาง 30 กิโลเมตร
เส้นทางที่สาม จากอุดรธานี - ห้วยเกิ้ง - หนองแสง ระยะทาง 60 กิโลเมตร


ภูฝอยลม
เป็นแหล่งท่องเทียวเชิงนิเวศ อยู่ในเขตป่าวสงวนแห่งชาติพันดอน - ปะโคมีเนื้อที่ 192,350 ไร่ บนเทือกเขาภูพานน้อย เขตตำบลทับกุง ภูฝอยลมจัดเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสานมีแปลงกลูกสาธิต และสวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษามหาราชินี บริเวณจุดชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ เมืองอุดรธานี มีบ้านพักไว้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถตั้งแคมป์พักแรมได้ สอบถามลายละเอียด โทร .04224 6715,0 4291 0935-6

การเดินทาง ใช้เส้นทางอุดรธานี - เลย เลี้ยวเข้าแยกบ้านเหล่า กิโลเมตรที่ 9


บ้านคำชะโนด
ตั้งอยู่ที่ ต . วังทอง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ มีพื้นที่ราว 20 ไร่ ซึ้งมีน้ำล้อมรอบ สภาพคล้ายเกาะ มีดงต้นปาล์มชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายต้นตาลผสมต้นมะพร้าวและต้นหมากขึ้นอยู่ เรียกว่า ต้นชะโนด เชื่อว่า มีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย คนสมัยก่อนเรียกที่นี้ว่า “ วังนาคินทร์คำชะโนด ” เชื่อกันว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กลางลง เป็นประตูสู่เมืองบาดาล ตามความเชื่อของชาวอีสานและชาวลาวเป็นที่อยู่อาศัยของพญาศรีสุธโธนาค ภายในสถานที่แห่งนี้มี ศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธนาค ให้กราบไหว้ ที่แปลกคือในดงชะโนด มีน้ำชับน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา แต่กลับไม่เคยมีน้ำถ้วมเลย การเดินทาง ห้างจากตัวอำเภอเมืองอุดรธานี ประมาณ 101 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ( อุดรธานี - สกลนคร ) เลี้ยวซ้ายเข้าทางอำเภอ บ้านดุง 84 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอบ้านดุง 17 กิโลเมตร


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ต . เมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 67 กิโลเมตร มาสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือ ก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ . ศ .2463-2477 รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร สลักลึกลงไปในหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองพระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทสลักลึกลงไปในหิน ใจกลางพระพุทธบาทสลักเป็นรูปดอกบัวกลีบแหลมนูนขึ้นมา อย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหิน ธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่าพระพุทธบาทหลังเต่า

ถ้ำและเพลิงหินต่างๆ ตั้งกระจายอยุ่ทั่วๆไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะไม่ไกลนัก นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงามได้แก่ คอมม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่ำน้ำนางอุสา ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศุนย์บริการนักท่องเที่ยวให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่และเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวชมบริเวณอุทยานฯ ประวัติศาสตร์ภูพระบาท เปิดให้บริการทุกวันเวลา 08.00-16.30 น . สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 4252 1350-2


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้างเชียง
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ . ศ .2517-2518 จากการศึกษาหลักฐานต่างๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 5600-1800 ปี โดยองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ ลำดับที 359 เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเชีย ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่

ส่วนที่ 1 หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทยมีนิทรรศการถาวร ซึ้งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาการขุดค้นทางโบราณคดีและโบราณวัตถุ ซึ้งส่วนใหญ่เป็นภาชนดินเผาที่ฝังรวมกับศพ

ส่วนที่ 2 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีเป็นอาคารที่จัดแสดง นิทรรศการบ้านเชียง ที่เคยแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและสิงค์โปร์ นิทรรศการ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บ้านเชียงในอดีต แสดงโบราณวัตถุและหลักฐานที่ได้มาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและบ้านเชียงวันนี้ เป็นการแสดงถึงชีวิต ความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปะพื้นบ้านของคนบ้านเชียงในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีห้องบรรยาย ฉายภาพยนต์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่างๆ

ส่วนที่ 3 บ้านไทพวน ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง 700 เมตร เดิมเป็นบ้านของนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ มอบให้กรมศิปลากร เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งโบราณสถานและได้มีการขุดค้นตามหลักวิชาการทางโบราณคดีได้พบ โบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก

การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 55 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 22 ( อุดรธานี - สกลนคร ) เลยสี่แยกเข้าอำเภอบ้านดุงเล็กน้อย จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ ตรงไปประมาณ 8.2 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น . สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร .0 4220 8340-1,0 4223 5273

อุทยานแห่งชาตินายูง - น้ำโสม

ตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง หมู่ 2 ตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย สภาพภูมิประเทศเป็นลักษณะภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตร มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ” ภูย่าอู่ ” สูงจาะระดับน้ำทะเล 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบรูณย์ เต็มไปด้วย พันธ์ไม้หลากหลายชนิดโดยเฉพาะไม้เนือแข็ง ป่าแห้งนี้ นับเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญเช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน สถานที่ทองเที่ยวน่าสนใจภายในอุทยานได้แก่

น้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่บนสันเข้าภูพานและภูย่าอู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 500 เมตร มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยยาม ท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นาๆ พรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 3 ชั้น มีแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ ในอดีตเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของนกยูง จะได้เป็นที่มาของน้ำตกยูงทอง

จุดชมวิวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง ผาแดงเป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชัน มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้ กว้างไกล ใกล้กับผาแดง มีหลืบถ้ำเล็กๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานฯ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็น ระยะๆ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมวิวผาแดง ระยะทางประมาณ 2,000 เมตร

การเดินทาง จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสาย อุดรธานี - หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอำเภอบ้านผือประมาณ 40 กิโลเมตร ผ่านอำเภอบ้านผือ เข้าเขตอำเภอน้ำโสม ไปทางอำเภอนายูง ประมาณ 15 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไป 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ


พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน

อยู่ในวัดป่าภูก้อน ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง เป็นเจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ จำลองรูปแบบโดยรวมของสถาปัตยกรรมองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม องค์มหาเจดีย์เป็นทรงลังกาประดับด้วยโมเสก ทองคำ สูง 25 เมตร ฐานโดยรอบเป็นรูปแปดเหลี่ยม แบ่งเป็น 2 ชั้น ภายในเจดีย์ตกแต่งด้วยหินอ่อนและหินแกรนิตด้านนอกอย่างงดงาม ซุ้มพระและองค์เจดีย์ ภายในเป็นรูปปั้นปิดทอง ประดับกระจก เพดานห้อง โถงชั้นบน
ติดดาว ไม้สักขนาดใหญ่ แกะสลักปิดทองผังเพรช และพลอย รัชเชียหลากสีจำนวนมากกว่าแสนกะรัต
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก http://www.udon-city.com/tour_udon/index.php

internet.....origin

internet...start

ย้อนกลับไปในปี 1969 ขณะที่โลกยังอยู่ในยุคสงครามเย็น สหรัฐและรัสเซียต่าง พยายามสะสมอาวุธนิวเคลียร์ให้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม ความหวดกลัวสงคราม นิวเคลียร์มีผลให้กระทรวง กลาโหมแห่งประเทศสหรัฐอเมริการิเริ่ม การสร้าง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางทหารและมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถจะสื่อสารกัน ได้แม้บางส่วนจะถูกทำลายโดยอาวุธนิวเคลียร์ จึงได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อวิจัย งานโครงข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในกองทัพชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ARPA เครือข่ายในขณะนั้นจึงมีชื่อว่า ARPANET

ต่อมา ARPA ก็ต้องพบกับปัญหาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาของการสร้าง เครือข่าย คือคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากันได้ เนื่องจากไม่ได้ ถูกสร้างโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น ARPA จึงได้แก้ปัญหา โดยการสร้าง โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Transfer Protocol/Internet Protocol) เพื่อเป็นมาตรฐานในการติดต่อ และนำมาใช้สร้างเครือข่าย internetwork เพื่อแก้ปัญหาในการเชื่อมต่อระบบ และระบบนี้เองที่ต่อมาถูก เรียกสั้นๆ ว่า Internet (อินเตอร์เน็ต) และ โพรโตคอล TCP/IP ก็คือโพรโตคอลของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั่นเอง


ประวัติอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยด้วยกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเรียกกันว่า เนคเทค (NECTEC)

แรกเริ่มเดิมทีเป็นการใช้งานเฉพาะ E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ต่อมาเป็นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรเลีย แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการเชื่อมต่อกันอย่างโดยตรง (Online) ในปีต่อมาก็ได้เชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้นมาอีก 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง และกระทรวงวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นอีกไม่นานก็ได้เชื่อมต่อกับสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ ซึ่งก็มีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://61.19.69.9/~m312b48/m312-(17b)/INTERNET.htm


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always o­n) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีกต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://learners.in.th/blog/toulek-2416/270674

my interesting










What coral?
















*Pakarang**Coral reef*

Pakarang มาจากคำว่า "ปะการัง" ซึ่งเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิดหนึ่ง

Pakarang เป็นชื่อของ เด็กหญิงคนหนึ่งที่อยู่โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ในปี พ.ศ.2537-2544

Pakarang เป็นชื่อของ นักเรียนหญิงโรงเรียนสตรีราชินูทิศ ในปี พ.ศ.2544-2549

Pakarang เป็นชื่อของ นิสิตหญิงคนหนึ่งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปี พ.ศ.2550-2553

.....Pakarang is a Flower of the sea.....and.....Pakarang is me.....